RSS

ใบงานที่ 9 บุคคลสำคัญของโลก

index

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ)

หรือรู้จักในนาม พุทธทาสภิกขุ (27 พฤษภาคม พ.ศ. 24498 กรกฎาคม พ.ศ. 2536) เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2449 เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค แต่แล้วท่านพุทธทาสภิกขุก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้น แปดเปื้อนเบือนบิดไปมาก และไม่อาจทำให้เข้าถึงหัวใจของพระพุทธศาสนาได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น พุทธทาส เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด

ผลงานเด่นของทาสพุทธทาสคืองานหนังสือ อาทิ หนังสือพุทธธรรม, ตามรอยพระอรหันต์ และคู่มือมนุษย์ และเป็นสงฆ์ไทยรูปแรกที่บุกเบิกการใช้โสตทัศนูปกรณ์สมัยใหม่สำหรับการเผย แพร่ธรรมะ และท่านมีสหายธรรมคนสำคัญ คือ ปัญญานันทภิกขุ แห่งวัดชลประทานรังสฤษฎ์ และท่าน บ.ช. เขมาภิรัตน์

ความสำคัญของ (พระธรรมโกศาจารย์)

การที่องค์การยูเนสโกประกาศยกย่องท่านอาจารย์พุทธทาสว่าเป็นบุคคลสำคัญของ โลกย้ำเตือนถึงความจริงของบทกลอนของท่านพุทธทาสที่ว่า “พุทธทาสจักอยู่ไปไม่มีตาย” ผลงานของท่านนอกจากจะไม่ตายไปจากความทรงจำของชาวพุทธแล้ว ยูเนสโกยังประกาศยกย่องท่านพุทธทาสไปทั่วโลก
เราอาจตั้งคำถามว่า ทำไมท่านพุทธทาสจึงได้รับยกย่องจากยูเนสโก เขามองท่านพุทธทาสอย่างไร ใครที่อยากจะได้รับการยกย่องในเวลาร้อยปีชาตกาลของตนแบบท่านพุทธทาสก็อาจจะ จับประเด็นได้และทำผลงานให้ตรงจุด บางคนอาจได้คิดว่า เมื่อยูเนสโกยังยกย่องท่านพุทธทาส ทำไมเราจึงไม่ศึกษางานของท่านบ้าง เรากลายเป็นพวกใกล้เกลือกินด่างหรือเปล่า เพราะฉะนั้นในช่วงนี้จึงเป็นโอกาสดีที่จะหันมาศึกษางานของท่านพุทธทาส ให้มากขึ้น อาตมาเคยพูดถึงท่านพุทธทาสเมื่อประมาณ ๒๕ ปีมาแล้วในปี ๒๔๒๕ เมื่อพูดแล้วได้พิมพ์เป็นหนังสือเรื่องเปรียบเทียบแนวคิดพุทธทาสกับฌอง-ปอล ชาร์ต นักเขียนรางวัลโนเบลของฝรั่งเศส เป็นนักปรัชญาเอกซิสเตนเชียลิสม์ พิมพ์เป็นหนังสือครั้งแรกในปี ๒๕๒๖ อะไรที่เคยพูดไว้ในหนังสือนั้นเป็นอีกมุมมองหนึ่งซึ่งจะไม่พูดถึงในวันนี้

k5

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสวยราชสมบัติ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง (พ.ศ. 2411) รวมสิริดำรงราชสมบัติ 42 ปี 22 วัน [1] เสด็จสวรรคต เมื่อวันเสาร์ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ ปีจอ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) ด้วยโรคพระวักกะ รวมพระชนมพรรษา 58 พรรษา

พระราชกรณียกิจที่สำคัญ

พระราชกรณียกิจที่สำคัญของรัชกาลที่ 5 ได้แก่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีเลิกทาส การป้องกันการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และจักรวรรดิอังกฤษ ได้มีการประกาศออกมาให้มีการนับถือศาสนาโดยอิสระในประเทศ โดยบุคคลศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามสามารถปฏิบัติการในศาสนาได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ได้มีมีการนำระบบจากทางยุโรปมาใช้ในประเทศไทย ได้แก่ระบบการใช้ธนบัตรและเหรียญบาท ใช้ระบบเขตการปกครองใหม่ เช่น มณฑลเทศาภิบาล จังหวัดและอำเภอ และได้มีการสร้างรถไฟ สายแรก คือ กรุงเทพฯ ถึง เมืองนครราชสีมา ลงวันที่ 1 มีนาคม ร.ศ.109 ซึ่งตรงกับ พุทธศักราช 2433 นอกจากนี้ได้มีงานพระราชนิพนธ์ ที่สำคัญ

2k58cf9d41f1

ประวัติ

สืบ นาคะเสถียรหรือนามเดิมชื่อ”สืบยศ” เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2492 ที่ตำบลท่างาม อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี บิดาชื่อ นายสลับ นาคะเสถียร เคยดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัด ปราจีนบุรี  มารดาชื่อ นางบุญเยี่ยม นาคะเสถียร สืบ นาคะเสถียรมีพี่น้องทั้งหมด 3 คน โดยสืบ นาคะเสถียร เป็นบุตรชายคนโต น้องชายและน้องสาวอีก 2 คนคือคุณกอบกิจ นาคะเสถียรและคุณกัลยา รักษาสิริกุล  คุณสืบมีบุตรสาว 1 คน ชื่อชินรัตน์ นาคะเสถียร ในวัยเด็ก สืบ นาคะเสถียร ได้ช่วยงานในนาของมารดา ทำงานอยู่กลางแจ้งทั้งวันโดยไม่ปริปากบ่น บุคลิกประจำตัว คือเมื่อเขาสนใจหรือตั้งใจทำอะไรแล้วก็จะมีความมุ่งมั่น ตั้งใจทำอย่างจริงจังจนประสบความสำเร็จ  ครั้นเรียนจบชั้นประถม 4 ต้องจากครอบครัวไปเรียนอยู่ที่ โรงเรียนเซนหลุยส์ จังหวัดฉะเชิงเทรา จนกระทั่งเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

พ.ศ.2511 เข้าศึกษาในคณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สืบมีความตั้งใจในการศึกษาอย่างเต็มประสิทธิภาพและเข้าร่วมกิจกรรมนิสิต โดยเป็นที่ทราบกันดีระหว่างผู้ใกล้ชิดว่า สืบ นาคะเสถียร เป็นผู้มีใจรักศิลปะ และสูงส่งในเชิงมนุษยสัมพันธ์ มีระเบียบในการดำเนินชีวิต

ในสมัยเรียนอย่างมีแบบแผน พ.ศ.2514 จบการศึกษาจาก คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต่อมา พ.ศ.2516 สืบ นาคะเสถียร

เข้าทำงานที่ส่วนสาธารณะของการเคหะแห่งชาติ

พ.ศ.2517 สืบเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาวิชาวนวัฒน์วิทยา ที่คณะวนศาสตร์ มหาลัยเกษตรศาสตร์ จนสำเร็จการศึกษา

และ ในปีพ.ศ.2518 ได้เริ่มชีวิตข้าราชการ โดยบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งพนักงานป่าไม้ตรี กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ และเริ่มชีวิตข้าราชการกรมป่าไม้

เมื่อปี พ.ศ.2518 ใน กองอนุรักษ์สัตว์ป่า ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงหน่วยงานเล็ก ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น เขาตัดสินเลือกกองนี้เพราะต้องการทำงาน เกี่ยวกับสัตว์ป่ามากกว่างานที่เกี่ยวพันกับผลประโยชน์ ป่าไม้โดยตรง สืบ เริ่มงานครั้งแรกที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาเขียว-เขาชมภู่ จังหวัดชลบุรี ได้ผลักดันให้สืบ ต้องเข้าไปทำหน้าที่ผู้รักษากฎหมาย อย่างเลี่ยงไม่พ้น ที่นั่นเขาได้จับกุม ผู้บุกรุกทำลายป่าโดยไม่เกรงอิทธิพลใดๆ ผู้ต้องหาล้วนได้รับการปฏิบัติอย่างสุภาพนิ่มนวล และที่นี่ สืบเริ่มเรียนรู้ว่า การเป็นเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่ซื่อสัตย์ นั้นเจ็บปวดเพียงไหน

สืบ ทำงาน อยู่ 3-4 ปี ในปี พ.ศ.2522 สืบก็ได้รับทุนจาก British Council ไปเรียนระดับปริญญาโท สาขาอนุรักษ์วิทยาที่มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ จากนั้น พ.ศ.2524 กลับมารับตำแหน่งหัวหน้าเขต ห้ามล่าสัตว์ป่า บางพระ มีส่วนร่วมในการจัดการและประสานงาน รวมทั้งเป็นวิทยากร ฝึกอบรมพนักงาน พิทักษ์ป่าอีกหลายรุ่น

จนกระทั่ง พ.ศ.2526 สืบได้ขอย้ายตัวเอง เข้ามาเป็นนักวิชาการ กองอนุรักษ์สัตว์ป่า ทำหน้าที่วิจัยสัตว์ป่าเพียงอย่างเดียว “ผมหันมาสนใจงานวิจัยมากกว่าที่จะวิ่งไปจับคน เพราะรู้ว่าจับได้แต่คนตัวเล็ก ๆ ตัวใหญ่ ๆ จับไม่ได้ก็เลย อึดอัดว่ากฎหมายบ้านเมืองนั้นมันใช้ไม่ได้กับทุกคน มันเหมือนกับว่าเราไม่ยุติธรรมเรารังแกชาวบ้าน”

ใน ระยะนี้ เป็นจังหวะที่สืบได้แสดงความเป็นนักวิชาการออกมาอย่างเต็มที่ งานวิจัยศึกษาสัตว์ป่าเป็นงานที่สืบ ทำได้ดีและมีความสุขในการทำงานวิชาการมาก สืบรักงานด้านนี้เป็นชีวิต จิตใจ อันเป็นจุดเริ่มต้นที่เขาได้ผูกพัน กับสัตว์ป่าอย่างจริงจัง เขาเริ่มใช้เครื่องมือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกล้อง วีดีโอ กล้องถ่ายภาพนิ่งและการสเก็ตซ์ภาพ ในการบันทึกงานวิจัยทั้งหมด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้กลาย เป็นผลงานการวิจัยสัตว์ป่าชิ้นสำคัญของเมืองไทยในเวลาต่อมา

และใน เวลา ต่อมา พ.ศ.2529 สืบได้รับมอบหมาย ปฏิบัติงานในหน้าที่ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา (เชี่ยวหลาน)  จังหวัด สุราษฏร์ธานี ให้เข้าไปช่วยเหลืออพยพสัตว์ป่าที่ตกค้าง ในอ่างเก็บน้ำ ซึ่งเกิดจากการสร้างเขื่อนเชี่ยวหลาน สืบได้ทุ่มเทเวลาให้กับการกู้ชีวิตสัตว์ป่าที่หนีภัยน้ำท่วม โดยไม่ได้นึกถึง ความปลอดภัยของตนเองเลย จากการทำงานชิ้นดังกล่าวสืบ นาคะเสถียรเริ่มเข้าใจ ปัญหาทั้งหมดอย่างถ่องแท้ เขาตระหนักว่าลำพังงาน วิชาการเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่อาจหยุดยั้งกระแส การทำลาย ป่าและสัตว์ป่าอันเป็นปัญหา ระดับชาติได้ ดังนั้น เมื่อมีกรณี รัฐบาลจะสร้างเขื่อนน้ำโจน ในบริเวณทุ่งใหญ่ฯ สืบจึงโถมตัวเข้าคัดค้านเต็มที่

พ.ศ.2531 สืบได้กลับเข้ามารับราชการที่กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ และต่อมา พ.ศ.2532 สืบ นาคะเสถียร ได้เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าเขต รักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

สืบ ได้พยายามในการที่จะเสนอให้ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และห้วยขาแข้งมีฐานะเป็นมรดกของโลก โดยได้รับการยกย่องอย่างเป็นทางการ จากองค์การ สหประชาชาติ สืบเล็งเห็นว่า ฐานะดังกล่าวจะเป็นหลักประกัน สำคัญที่คอยคุ้มครองป่าผืนนี้เอาไว้ อย่างถาวร ปลายปี พ.ศ. 2532 สืบได้รับทุน ไปเรียนต่อระดับปริญญาเอก ที่ประเทศอังกฤษ พร้อม ๆ กับได้รับมอบหมาย ให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งเป็นป่าอนุรักษ์ที่มีความสำคัญมากไม่แพ้ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร แต่ในที่สุด สืบ ก็ตัดสินใจเดินทางเข้ารับตำแหน่ง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง แม้จะรู้ดีว่าหนทางข้างหน้าเต็มไปด้วย ความยากลำบากนานัปการ

เช้า มืดวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2533 สืบ นาคะเสถียร ตัดสินใจผ่าทางตันด้วยการสั่งเสียลูกน้อง คนสนิท และเขียนจดหมายสั่งลา 6 ฉบับ ชำระสะสางภาระ รับผิดชอบและทรัพย์สินส่วนตัวที่คั่งค้าง มอบหมาย เครื่องใช้ และอุปกรณ์ในการศึกษาวิจัยด้านสัตว์ป่า ให้สถานีวิจัย สัตว์ป่าเขานางรำ เพื่อนำไปใช้ตาม วัตถุกระสงค์ดังกล่าว ตั้งศาลเพื่อแสดงความคารวะต่อ ดวงวิญญาณของเจ้าหน้าที่ ซึ่งพลีชีพรักษาป่าห้วยขาแข้ง แล้วสวดมนต์ไหว้พระ จนจิตใจสงบขณะที่ฟ้ามืดกำลัง เปิดม่านรับวันใหม่ เสียงปีนดังขึ้นนัดหนึ่งในราวป่าลึก ที่ห้วยขาแข้ง สืบ นาคะเสถียร ก็ปิดม่านชีวิตของเขาลง และเป็นบทเริ่มต้น ตำนานนักอนุรักษ์ไทย สืบ นาคะเสถียร ผู้ที่รักป่าไม้ สัตว์ป่าและธรรมชาติ ด้วยกาย วาจา  และหลังจากนั้นอีกสองอาทิตย์ต่อมา ห่างจากบริเวณที่เกิดเสียงปืนดังขึ้นไม่กี่สิบเมตรบรรดาเจ้าหน้าที่ ระดับสูงของกรมป่าไม้ รวมทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด นายทหาร นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ นายอำเภอ ป่าไม้เขต และ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ อีกนับร้อยคน ต่างกุลีกุจอมาประชุมกันที่ห้วยขาแข้ง อย่างแข็งขัน เพื่อหามาตรการป้องกันการบุกรุก ทำลายป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง สืบ นาคะเสถียร รอวันนี้มาตั้งแต่วันแรกที่เขามาดำรงตำแหน่ง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้แล้ว แต่หากไม่มีเสียงปืนนัดนั้น การประชุมดังกล่าวก็คงไม่เกิดขึ้นเช่นกัน…

ความสำคัญ  สืบ นาคะเสถียร

มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ได้ กำหนดขอบข่ายและทิศทางการทำงานไว้ 5 ประการ คือ

1. การสนับสนุนการจัดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่นเรศวร ตลอดจนผืนป่าอนุรักษ์ทั่วประเทศ

2.การปรับปรุงสวัสดิการเพื่อการเสริมสร้างขวัญ และกำลังใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า

3. งานรณรงค์ป้องกันรักษาผืนป่าอนุรักษ์และทรัพยากรธรรมชาติ ภายใต้การรณรงค์แนวความคิด “ไม่มีป่า ไม่มีน้ำ”

4. งานประชาสัมพันธ์และปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม เพื่อขยายแนวร่วม และเผยแพร่งานอนุรักษ์ส่วนกว้าง

5. งานส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยสัตว์ป่า โดยจัดตั้งกองทุนสัตว์ป่าขึ้น

 
1 ความเห็น

Posted by บน มกราคม 29, 2014 นิ้ว Uncategorized

 

[ ม.2/2] ใบงานที่ 8ประวัติของธงชาติไทย

ประวัติธงชาติไทยยุคต่างๆ

สมัยโบราณ

ตามหลักฐานต่าง ๆ ปรากฏว่าตั้งแต่สมัยโบราณไทยเรายังไม่มีธงชาติโดยเฉพาะ เมื่อเวลาจัดกองทัพไปทำสงคราม จะใช้ธงสีต่าง ๆ ประจำทัพเป็นเครื่องหมายทัพละสี ต่อมาเมื่อมีการเดินเรือค้าขายกับต่างประเทศทางตะวันตกในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้ใช้ธงสีแดงติดเป็นเครื่องหมายว่าเป็นเรือสินค้าของไทย จดหมายเหตุของชาวต่างประเทศกล่าวว่า ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีเรือฝรั่งเศสแล่นเข้ามาสู่ปากน้ำเจ้าพระยา เมื่อถึงป้อมของไทย ไทยชักธงฮอลันดาขึ้นรับเรือฝรั่งเศส เพราะไม่มีธงชาติของตนเอง แต่เรือฝรั่งเศสไม่ยอมสลุตรับธงฮอลันดาเพราะเคยเป็นอริกันมาก่อน และถือว่าไม่ใช่ธงชาติไทย ฝ่ายไทยจึงแก้ไขโดยนำ”ธงแดง” ขึ้นชักแทนธงชาติ เรือฝรั่งเศสจึงยอมสลุตคำนับ ตั้งแต่นั้นมาธงสีแดงจึงกลายเป็นธงชาติของไทยเรื่อยมา

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ไทยยังคงใช้ธงสีแดงเกลี้ยงชักเป็นเครื่องหมายประจำเรือค้าขายกับต่างประเทศ อยู่ ธงแดงนี้ใช้ชักขึ้นทั้งในเรือหลวงและเรือราษฎร ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระราชดำริว่า เรือหลวงและเรือราษฎรควรมีเครื่องหมายให้เห็นที่ต่างกัน จึงมีพระบรมราชโองการให้จัดทำรูปจักรสีขาวติดไว้กลางธงแดงเป็นเครื่องหมาย ใช้เฉพาะเรือหลวง ส่วนเรือค้าขายของราษฎรทั่วไปยังคงใช้ธงแดงเกลี้ยงอยู่

รัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 2-รัชกาลที่ 3)

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 2360 – 2366 โปรดให้ส่งเรือกำปั่นหลวงไปค้าขายระหว่างกรุงเทพฯ สิงคโปร์ และมาเก๊า ซึ่งเป็นสถานีค้าขายของอังกฤษ โดยโปรดให้ติดธงสีแดง แต่ ปรากฏว่าไปเหมือนกับธงเรือสินค้าของชาติมาลายูเจ้าเมือง สิงคโปร์ จึงขอให้เรือไทยใช้ธงสีอื่นให้ต่างกันออกไป ในระยะนั้นประจวบกับมีช้างเผือกมาสู่พระบารมีพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย จึงมีพระบรมราชโองการให้ทำรูปช้างเผือกไว้กลางวงจักร

รัชกาลที่ 4

รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทำหนังสือสัญญาเปิดการค้าขายกับชาวตะวันตกในพ.ศ. 2398 มีเรือสินค้าของประเทศต่างๆ ในยุโรปและอเมริกาเดินทางเข้ามาค้าขายมากขึ้น และมีสถานกงสุล ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ สถานที่เหล่านั้นล้วนชักธงชาติของตนขึ้นเป็นของตนขึ้นเป็นสำคัญ จึงจำเป็นที่จะต้องมีธงชาติที่แน่นอน จึงทรงพระราชดำริว่า ธงสีแดงซึ่งเรือสินค้าไทยใช้อยู่นั้นซ้ำกับประเทศอื่น ยากแก่การสังเกตไม่สมควรใช้อีกต่อไป ควรจะใช้ธงอย่างเรือหลวงเป็นธงชาติ แต่โปรดให้เอารูปจักรออกเสียเพราะเป็นเครื่องหมายเฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน คงไว้แต่รูปช้างเผือกอยู่กลางธงแดง

รัชกาลที่ 5

ในระหว่างรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงหลายครั้ง คือพระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม รศ.110 พระราชบัญญัติธงรัตนโกสินทรศก 116 พระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก 118 ทุกฉบับได้ยืนยันลักษณะของธงชาติว่าเป็นธงพื้นแดง กลางเป็นรูปช้างเผือก ไม่ทรงเครื่องหันหน้าเข้าเสาทั้งสิ้น

รัชกาลที่ 6

ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ออกประกาศแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก 129 เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2459 แก้ไขลักษณะธงชาติเป็นธงพื้นแดง กลางเป็นรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น หันหลังเข้าเสา ประกาศนี้เริ่มให้บังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2459 (ขณะนั้นยังนับเดือนเมษายนเป็นเดือนเริ่มศักราชใหม่ )

สงครามโลกครั้งที่ 1

ในพ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำประเทศไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ทรงพระราชดำริว่า การประกาศสงครามนับเป็นความเจริญก้าวหน้าขั้นหนึ่งของประเทศ สมควรจะมีสิ่งเตือนใจ สำหรับวาระนี้ไว้ภายหน้า สิ่งนั้นควรได้แก่ “ธงชาติ” ทรงเห็นว่าลักษณะที่แก้ไขใน พ.ศ. 2459 นั้น ยังไม่สง่างาม ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มแถบน้ำเงินแก่ขึ้นอีกสีหนึ่งเป็นสามสี ตามลักษณะของธงนานาชาติที่ใช้กันอยู่ เพื่อให้เป็นเครื่องหมายว่าไทยเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร และอีกประการหนึ่งสีน้ำเงินเป็นสีประจำพระชนมวารเฉพาะพระองค์ จึงเป็นสีที่ควรประดับไว้ในธงชาติไทย ดังนั้นในปี 2460 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ ธง พระพุทธศักราช 2460 ออกประกาศเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2460 มีผลบังคับภายหลังวันออกประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว 30 วัน ลักษณะธงชาติมีดังนี้ คือ
เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมรี ขนาดกว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน มีแถบสีนำเงินแก่กว้าง 1 ใน 3 ของความกว้างของธงอยู่กลาง มีแถบสีขาวกว้าง 1 ใน 6 ของความกว้างของธงข้างละแถบ แล้วมีแถบแดงกว้างเท่ากับแถบขาวประกอบข้างนอกอีกข้างละแถบ และ พระราชทานนามว่า “ธงไตรรงค์” ส่วนธงรูปช้างกลางธงพื้นแดงของเดิมนั้นให้ยกเลิก ความหมายของสีธงไตรรงค์คือ สีแดงหมายถึงชาติ และ ความสามัคคี ของคนในชาติ สีขาวหมายถึงศาสนา ซึ่งเป็นเครื่องอบรมสั่งสอนจิตใจให้บริสุทธิ์ สีนำเงินหมายถึงพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขของประเทศ

รัชกาลที่ 7 จนถึงปัจจุบัน

ครั้นถึงรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ได้มีพระราชบันทึกพระราชทานไปยังองคมนตรี เพื่อให้เสนอความเห็นของคนหมู่มากว่า จะคงใช้ธงไตรรงค์ดังที่ใช้อยู่เป็นธงชาติต่อไป หรือจะกลับไปใช้ธงช้างแทน หรือจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงลักษณะธงชาติ กับวิธีใช้ธงไตรรงค์อย่างไร ปรากฏว่าความเห็นขององคมนตรีแตกต่างกระจายกันมาก จึงมิได้กราบบังคมทูลข้อชี้ขาด ดังนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คงใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติต่อไปตามพระราชวินิจฉัยลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ได้มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติธงซึ่งยังคงใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติเช่นเดิม แต่ ได้อธิบายลักษณะธงไว้เข้าใจง่ายและชัดเจน ดังนี้มีขนาดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 6 ส่วน ยาว 9ส่วน ด้านกว้างแบ่งเป็น 5 แถบ ตลอดความยาวของผืนธง ตรงกลางเป็นแถบสีน้ำเงินแก่ กว้าง 2 ส่วน ต่อจากแถบสีน้ำเงินแก่ออกไปทั้งสองข้างเป็นแถบสีขาวกว้างข้างละ 1 ส่วน ต่อจากแถบสีขาวออกไปทั้งสองข้างเป็นแถบสีแดงกว้างข้างละ 1 ส่วน นับแต่นั้นมาไม่มีข้อความใดๆ เปลี่ยนแปลงลักษณะของธงชาติอีก ธงไตรรงค์ จึงเป็นธงชาติไทยสืบมาจนปัจจุบัน

ธงชาติไทยในปัจจุบันเกิดขึ้นในรัชกาล

รัชกาลที่7 พระราชกรณียกิจที่สําคัญ จนถึงปัจจุบัน

สีของธงชาติไทยในปัจจุบัน หมายถึง

ธงไตรรงค์อันเป็นธงชาติไทยนั้น มี ๓ สี คือ สีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน ปัจจุบันจะรับทราบกันทั่วไปว่า สีแดง หมายถึงชาติ สีขาว หมายถึง ศาสนา และ สีน้ำเงิน หมายถึงพระมหากษัตริย์

 
1 ความเห็น

Posted by บน มกราคม 26, 2014 นิ้ว Uncategorized

 

[ม.2/2] ใบงานที่ 7 วันจักรีของชาติไทย

           

ในทุกๆ วันที่ 6 เมษายน ของทุกปีนั้นถือเป็นสำคัญอีกวันหนึ่งของไทย นั่นคือ วันจักรี ซึ่งเป็นวันที่เราจะร่วมกันระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รวมถึงมหาจักรีบรมราชวงศ์ วันนี้กระปุกดอทคอมจึงนำประวัติและความสำคัญของวันนี้มาฝากกันค่ะ

ประวัติการตั้งชื่อวันจักรี นั้นเนื่องมาจาก เมื่อวันที่ 6 เมษายน ปี พ.ศ. 2325 นั้นเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงเสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และยังทรงสร้างกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงของไทยอีกด้วย และยังเป็นวันครบรอบการก่อตั้งราชวงศ์จักรีซึ่งเป็นราชวงศ์ที่ครองราชย์อยู่ในปัจจุบัน

กิจกรรมที่ปฏิบัติในวันจักรี

1.    ในปี พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้หล่อพระบรมรูป พระเจ้าอยู่หัวทั้ง 4 พระองค์ ( ร.1 – 4 ) เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อมา พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนได้ถวายบังคมระลึกถึง

พระมหากรุณาธิคุณนี้ เป็นธรรมเนียมปีละครั้ง และโปรดเกล้าให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และมีการย้ายที่หลายครั้ง เช่น พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ปราสาท และพระที่นั่งศิวาลัยปราสาท เป็นต้น

ในรัชกาลที่ 6 โปรดให้ย้ายพระบรมรูปทั้ง 4 ( ร.1 – 4 ) มาไว้ ณ ปราสาทพระเทพบิดร ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับพระบรมรูปของรัชกาลที่ 5 พระชนกนาถ พระที่นั่งองค์นี้ รัชกาลที่ 6 โปรดให้ซ่อมจากพุทธปรางค์ปราสาท เพื่อเรื่องนี้โดยเฉพาะ และได้พระราชทานนามดังกล่าว การซ่อมแซมก่อสร้างและประดิษฐานพระบรมรูปทั้ง 5 รัชกาล สำเร็จลุล่วงในเดือนเมษายน พ.ศ. 2461 จึงได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศตั้งพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูป ในวันที่ 6 เมษายนปีนั้น และต่อมาโปรดฯ ให้เรียกวันที่ 6 เมษายนว่า วันจักรี

2.   เนื่องในวันจักรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ไปเป็นประธานในพิธีทางศาสนา เพื่อบำเพ็ญพระราชกุศลให้กับบูรพมหากษัตริย์ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และทรงสักการะพระบรมรูป สมเด็จพระบูรพมหากษัตริย์ ณ ปราสาทพระเทพบิดร

ต่อจากนั้นก็ทรงเสด็จไปวางพวงมาลา ณ พระบรมราชานุสรณ์ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ที่สะพานพระพุทธยอดฟ้า ในโอกาสนี้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ข้าราชการ ชั้นผู้ใหญ่ นิสิตนักศึกษา หน่วยงาน ของรัฐบาล และเอกชน และประชาชนจากทุกสาขาอาชีพต่างพร้อมใจกัน เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลา และบำเพ็ญกุศลให้กับพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ทรงอุทิศพระองค์ เพื่อความสงบสุขของอาณาประชาราษฎรของพระองค์อย่างแท้จริง

3. เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ร.1) เสด็จปราบดาภิเษก ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงสร้างกรุงเทพมหานครขึ้นเป็นเมืองหลวงของไทย มาจนถึงทุกวันนี้ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) จึงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูปของพระเจ้าอยู่หัวทั้ง 4 พระองค์ (ร.1 – ร.4) เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อๆ มา พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนได้ถวายบังคมสักการะ โดยเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เป็นธรรมเนียมปีละครั้ง และได้โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และมีการย้ายที่หลายครั้ง เช่น พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ปราสาท และ พระที่นั่งศิวาลัยปราสาท เป็นต้น

วันจักรีเกิดขึ้นในรัชกาลที่ พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

 
1 ความเห็น

Posted by บน มกราคม 24, 2014 นิ้ว Uncategorized

 

ใบงานที่ 6 Valentine’s Day

วันวาเลนไทน์ วันแห่งความรักนวลสงวนตัว

    วันวาเลนไทน์ (Valentine) คือวันที่ระลึกถึง นักบุญเซนต์วาเลนไทน์ ผู้เปี่ยมไปด้วยความรัก ความปรารถนาดี ต่อเพื่อนมนุษย์อย่างแท้จริง แต่สุดท้ายเขาต้องจบชีวิตลงด้วยการรับโทษประหารในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 หรือเมื่อประมาณ 1,728 ปีล่วงเลยมาแล้ว ซึ่งเป็นยุคสมัยของจักรวรรดิโรมันที่ศาสนาคริสต์ยังไม่เป็นที่ยอมรับ ซํ้าร้ายภายใต้การปกครองของกษัตริย์คลอดิอุสที่ 2 ผู้ออกกฎหมายบีบบังคับให้ประชาชนเลิกนับถือ และห้ามให้มีแต่งงานของพวกคริสเตียนเกิดขึ้น แต่ยังคงมีผู้นำคริสเตียนคนหนึ่งชื่อ “วาเลนตินัส” หรือที่ได้รับการยกย่องเป็น เซนต์วาเลนไทน์ ในภายหลัง คอยลักลอบแอบจัดงานแต่งงานให้กับคู่รักคริสเตียนจนถูกจับขังและรับโทษทรมานแสนสาหัสอยู่ในคุก – ประวัติวันวาเลนไทน์
สัญลักษณ์ของวันวาเลนไทน์          สัญลักษณ์ของวันวาเลนไทน์คือ เทพเจ้าคิวปิด ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความรักดั้งเดิมของชาวโรมัน ร่างกายเป็นเด็กทารกติดปีก กำลังโก่งคันศรทองเล็งไปยังหัวใจของผู้คน ตามตำนานของกรีกและโรมันพูดถึงคิวปิดว่า เป็นบุตรของมาร์ (เทพเจ้าของสงคราม) และ วีนัส (เทพเจ้าแห่งความรักและความงาม)
ภาพในวันวาเลนไทน์
รูปภาพ  รูปภาพ
รูปภาพ  รูปภาพ
 
1 ความเห็น

Posted by บน มกราคม 24, 2014 นิ้ว Uncategorized

 

[ม.2/2] ใบงานที่ 5 วันครู ปี 2557

วันครู
        วันที่ 16 มกราคม ของทุกปี เป็นวันครู เป็นวันที่ผองศิษย์ทั้งหลายได้ร่วมใจพร้อมใจกันมานอบน้อมเคารพคุณครู ตั้งแต่โบราณกาล เราถือกันว่าคุณครู เป็นผู้ที่มีพระคุณอันยิ่งใหญ่ต่อศิษย์ทั้งหลาย ถัดมาจากคุณพ่อคุณแม่ทีเดียว ทำไมคุณครูจึงมีพระคุณอันยิ่งใหญ่ขนาดนี้ ก็ต้องมาดูที่หน้าที่ของครู ท่านสรูปไว้สั้นๆ ใน 2 คำคือ หน้าที่ในการแนะแล้วก็นำ แนะก็คือว่าการสอนให้ความรู้แก่ศิษย์นั่นเอง ส่วนการนำก็คือ การทำให้ดู คือประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างแก่ศิษย์ คุณค่าของความเป็นครูประมวลลงในคำ 2 คำนี้ ต้องสอนด้วย แล้วก็ทำตนให้เป็นแบบอย่างด้วย อย่างนี้ละก็ถือเป็นครูที่งามพร้อม สมบูรณ์พร้อม เป็นปูชนียบุคคล ที่ศิษย์ควรจะเคารพบูชา แต่ปัจจุบันเราจะพบว่าเรามีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องเยาวชนอยู่มากพอสมควรทีเดียว เด็กรุ่นใหม่ในแง่ความรู้สติปัญญาก็อาจจะมีพอสมควร แต่ที่ห่วงกันมากๆก็คือว่าเรื่องความประพฤติ ไม่ว่าจะเป็นการไปหมกมุ่นอยู่กับอบายมุขบ้าง เรื่องเกมส์คอมพิวเตอร์บ้าง การใช้ความรุนแรงบ้าง หรือเรื่องทางเพศบ้าง ถามว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เราคงต้องย้อนกลับมาดูถึงการทำหน้าที่ของครูกันอีกครั้งแล้วละ

 

         ว่าปัจจุบันเราเน้นหนักไปในเรื่องของการแนะ คือการสอนให้ความรู้กับศิษย์ มุ่งหวังจะให้ศิษย์ของเราเป็นคนเก่ง ไปสู้โลกกับเขาได้ ให้ทันเทคโนโลยีของโลกมากจนกระทั่งลืมเรื่องคุณธรรม คือการสอนให้ศิษย์เป็นคนดี มันน้อยไปสักนิดหรือเปล่า ปัญหาจึงเกิดมาเช่นนี้ แต่ถ้าเกิดจะแก้ปัญหาให้ได้ ก็คงหนีไม่พ้นว่าภาระหนักอยู่กับคุณครูทั้งหลาย ซึ่งแน่นอนว่าหากจะนำสอนให้ศิษย์เป็นคนดีได้ หนีไม่พ้นว่าคุณครูทั้งหลายจะต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างซะก่อน คงจะต้องหาวิธีการให้คุณครูมาศึกษาธรรมะ แล้วนำสิ่งเหล่านี้ไปถ่ายทอดให้กับลูกศิษย์ด้วย
            ท่านกล่าวว่ากิเลสในตัวคนมัน 3 ตัวเหมือนกัน โลภ โกรธ หลง ถ้าหากเราสังเกตุและเข้าใจตัวเองเมื่อไหร่ เราก็จะเข้าใจคนอื่น ถ้าคูณครูทั้งหลายในฐานะที่ผ่านโลกมามาก ได้สังเกตุปฏิบัติธรรม จนกระทั่งเข้าใจธรรมชาติของใจตัวเอง รู้จุดอ่อนจุดแข็งตัวเองดี เราก็จะเข้าใจลูกศิษย์ได้ดีเช่นเดียวกัน แล้วเราจะสามารถอบรมสั่งสอนให้เขาเป็นคนดีอย่างที่ควรเป็นได้
 
วันครูแห่งชาติ 16 มกราคม
 
         ปัจจุบันกำลังมีการปฏิรูปการศึกษา คำที่ฮิตคำหนึ่งคือว่า ชายเซ็นเตอร์ แปลเป็นไทยว่าการเรียนการสอน โดยที่ยึดเอาเด็กเป็นศูนย์กลาง มีบางท่านออกมาคัดค้านไม่เห็นด้วยเหมือนกันบอกว่า จะไปถือตามใจเด็กได้ยังไง ตามใจเด็กเดี๋ยวเด็กเราก็เสียคนหมด มันก็ต้องสอนให้เด็กมาตามครูสิ ตรงนี้อยู่ที่มุมมองการตีความคำว่า เด็กเป็นศูนย์กลาง ถ้าจะถือเด็กเป็นศูนย์กลางเป็นการตามใจเด็กอันนี้ไม่ถูกแน่ แต่ความหมายจริงๆอาตมาเข้าใจว่า คำว่าชายเซ็นเตอร์ หรือการเรียนการสอน โดยมีเด็กเป็นศูนย์กลางหมายถึงว่า คุณครูจะต้องสนใจสังเกตุเด็ก จะสอนอะไรไปจะแนะจะนำอะไรก็ตาม ต้องสังเกตุเด็กว่าปฏิกิริยาตอบรับเป็นอย่างไร ถ้าเป็นการสอนให้ความรู้ เด็กเข้าใจหรือยัง หาวิธีการปรับจนกระทั่งว่าเด็กสามารถศึกษาแล้วเข้าใจได้อย่างดีถ่องแท้ เอาความรู้นั้นไปใช้ได้จริงๆ ไม่ใช่มาถึงเราก็สอนไปอย่างที่เราอยากสอน เด็กจะรู้เรื่องหรือไม่ปล่อยเป็นเรื่องของเขา ถ้าอย่างนี้ประสิทธิภาพการเรียนมันก็ไม่เต็มที่ ต้องสังเกตุผู้เรียน ทำยังไงก็ได้หาวิธีการทุกรูปแบบให้เขาเข้าใจ แล้วก็เอาความรู้นั้นไปใช้ได้
 
        ถ้าในแง่ของเรื่องความประพฤติก็เช่นเดียวกัน ต้องสังเกตุลูกศิษย์ของเราเองไม่ปล่อยเลยตามเลย หาวิธีการทุกรูปแบบ ทำยังไงก็ตามให้ศิษย์ของเราเอง เป็นคนดีอย่างที่พึงเป็นให้ได้ ถ้าหากว่าบางครั้ง เห็นเหลือบ่ากว่าแรงนัก เราก็สามารถประสานพลังได้ อ้าว พาลูกศิษย์ไปวัดบ้าง ไปกราบหลวงปู่ หลวงตาที่มีความรู้ความสามารถ ช่วยอบรมสั่งสอนให้ เป็นครั้งคราวอาจจะไปเช้าเย็นกลับ บางทีอาจจะนิมนต์ท่านมาสอนที่โรงเรียนก็ตาม ไปกราบท่านถึงวัดก็ตาม หรือว่าอาจจะมีการจัดปฏิบัติธรรม 2 วัน 3 วัน ก็ตาม หากิจกรรมธรรมะต่างๆให้เด็กมาร่วม เพื่อกระตุ้นความตื่นตัวในการศึกษาธรรมะ ในการฝึกอบรมปฏิบัติตัวเองให้เป็นคนดี รักบุญกลัวบาป เข้าใจเรื่องกฏแห่งกรรมก็ตาม หรือหาสื่อดีๆให้ศิษย์ของเราเองได้ดูได้ชม เพื่อสร้างเสริมเขาให้เป็นคนที่ทั้งเก่งด้วย แล้วก็ดีด้วย คุณครูคนไหนสามารถทำได้อย่างนี้ละก็ นั่นคือปูชนียบุคคลของศิษย์อย่างแท้จริง ถ้าคุณครูทั้งประเทศช่วยกันคนละไม้คนละมือ เยาวชนทั้ง 13 ล้านคนระบบการศึกษา จะเป็นเด็กทั้งเก่งแล้วด็ดี แล้วเราจะตอบได้เลยว่า อนาคตของประเทศไทยของเรา ก็จะสว่างไสวแล้วก็เป็นปิ่นนานาประเทศ เป็นแบบอย่างแก่สังคมโลกได้อย่างแท้จริง โดยมีหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา เป็นประทีปส่องทางชีวิต แล้วก็อาศัยคุณครูทั้งหลาย เป็นผู้ประสานเอาพระธรรมคำสอนนี้ ไปสู่ใจของเยาวชนทั้งประเทศ เจริญพร 
ความสำคัญของวันครู

ข้อ 1 ข้าจะบำเพ็ญตน ให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครูข้อ 2 ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ

ข้อ 3 ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครู และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม

จรรยาบรรณวิชาชีพครู

การให้ เป็นสิ่งดี ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักและเป็นที่มาของศรัทธา ครูเป็นผู้ให้ความรู้และปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่ศิษย์ครูเช่นนี้จึงเป็นที่รักของศิษย์ ครูที่มีจริยวัตรงามย่อมเป็นตัวอย่างที่ดีต่อศิษย์ และเป็นผู้ที่ทำให้วงการวิชาชีพครูมีเกียรติ ควรแก่การยกย่องบูชา จึงเป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องมีจรรยาบรรณวิชาชีพครู ซึ่งมีข้อควรปฏิบัติ 9 ข้อดังนี้

จรรยาบรรณข้อที่ 1
ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า

จรรยาบรรณข้อที่ 2
ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้ แก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ

จรรยาบรรณข้อที่ 3
ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้ง ทางกายวาจา ใจ

จรรยาบรรณข้อที่4
ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์

จรรยาบรรณข้อที่ 5
ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ ในการ ปฏิบัติหน้าที่
ตามปกติ และไม่ให้ศิษย์กระทำการใดๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ

จรรยาบรรณข้อที่ 6
ครูย่อมพัฒนาตนทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ให้ทันต่อพัฒนาการทางวิทยาการ
เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ

จรรยาบรรณข้อที่ 7
ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครุ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู

จรรยาบรรณข้อที่ 8
ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์

จรรยาบรรณข้อที่ 9
ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญา และวัฒนธรรมไทย

คุณครูที่ผมชอบ

1. นายรักศักดิ์ ปริหา (สอน คอมพิวเตอร์)

2. นายสุขสันต์ อุ่นจิตร (สอน ภาษาไทย)

วีดีโอเกี่ยวกับวันครู
 
ใส่ความเห็น

Posted by บน มกราคม 22, 2014 นิ้ว Uncategorized

 
รูปภาพ

ใบงานที่ 4 สร้างการ์ดวันปีใหม่ 2557

ใบงานที่ 4 สร้างการ์ดวันปีใหม่ 2557

 
1 ความเห็น

Posted by บน มกราคม 11, 2014 นิ้ว Uncategorized

 

[ม.2/2] ใบงานที่ 3 บรรยายภาพมุมที่น่าสนใจในโรงเรียนของเรา

รูปภาพ

        ภาพนี้นะครับ เป็นโครงการขยะของโรงเรียนเวตวันวิทยา โดยจะมีเด็กของเรา เก็บขยะเวลาตอนเช้าหรือตอนเที่ยง โดยจะนำขยะมาเเยก เช่น แยกเป็นชิ้นส่วน โดยจะนำไป แยกขาย โดยจะมีครูมาดูแล เเหละผู้ที่มีส่วนร่วม เนื่องจากเก็บขยะยังไม่พอแล้วก็นำขยะมาเป็นแลกคูปอง โดยนำคูปองมาแลกเป็นสิ่งของ เช่น   หมอหุงข้าว ผ้าขนหนู เป็นต้น

รูปภาพ

 

       หน้า เสาธง เป็นกิจกรรมที่ ทำความเคารพ เช่น ร้องเพลงชาติไทย สวดมนต์ไหว้พระ ร้องเพลงสดุดีมหาราชา โดยจะให้นักเรียน ชั้นอนุบาล ประถมศึกษา เเละชั้นมัธยมศึกษา โดยจะมีกิจกรรมเเลกเปลื่ยนเรียนรู้กัน เเล้วสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ คือนั่งสมาธิ เเละสวดมนต์เมตตา แล้วทำกิจกรรมเสร็จก็จะปล่อยนักเรียนอนุบาล-ประถม ไปเรียน เเล้วก็จะเหลือมัธยม เพื่อจะได้อบรมเเก่นักเรียน

รูปภาพ

 

         งาน วันเด็ก ที่โรงเรียนเวตวันวิทยา ได้จัดขึ้นเมื่อ 10 มกราคม 2557 โดยจะมีกิจกรรมให้เด็กทำมากมาย เเล้วก็จะมีนักเรียนเเสดงมากมายมาแสดง เช่น กิจกรรมกินไอศครีมเเข่งกัน แ้ล้วก็จะมีคำถาม-คำตอบ มีนักเรียนเเสดงกิจกรรมไม่พอก็มีครูมาร่วมกิจกรรมอีกมากมายเหมือนกัน เเล้วก็จะมีกิจกรรมเก็บขยะ นำไปเเลกเอาสิ่งของ เช่น พัดลม เเก้วนํ้า ขนม เป็นต้น 

 

 
1 ความเห็น

Posted by บน มกราคม 11, 2014 นิ้ว Uncategorized

 

วันรัฐธรรมนูญ ประวัติวันรัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย

ประวัติวันรัฐธรรมนูญ

วันรัฐธรรมนูญ

วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปีเป็น วันรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และเป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ปีพ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 18 ฉบับ อันแสดงให้เห็นถึงความขาดเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 

 
2 ความเห็น

Posted by บน ธันวาคม 8, 2013 นิ้ว Uncategorized

 

ความเป็นมาของวันวชิราวุธ

     รูปภาพ

เหล่าข้าราชการ และลูกเสือ ย่อมจะไม่ลืมวันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี เพราะวันดังกล่าวนี้ตรงกับวันวชิราวุธ ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ผู้ทรงริเริ่มกิจการลูกเสือในประเทศไทย วันนี้กระปุกจึงนำเกร็ดความรู้ในวันสำคัญนี้มาฝากกันค่ะ

ความเป็นมาของวันวชิราวุธ

          วันวชิราวุธ ตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี สาเหตุที่กำหนดให้เป็นวันนี้ เนื่องจากตรงกับวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่เป็นประโยชน์
อย่างมากมายมหาศาลต่อประเทศ ชาติ ทั้งในด้านการคมนาคม การปกครอง กิจการเสือป่าและลูกเสือ  รวมทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม และด้านวรรณคดี เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต ทางการจึงกำหนดให้วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันวชิราวุธ เพื่อเทิดพระเกียรติและรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ทั้งนี้ภายหลังมีหลักฐานยืนยันว่า วันสวรรคตจริงตรงกับเช้ามืดช่วงตี 1 ของวันที่ 26 พฤศจิกายน แต่ทางราชการยังคงถือว่าวันที่ 25 พฤศจิกายน เป็นวันวชิราวุธ

 
2 ความเห็น

Posted by บน พฤศจิกายน 20, 2013 นิ้ว Uncategorized

 
รูปภาพ

(>เพื่อนกลุ่มผม<)

เพื่อนกลุ่มผม

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน พฤศจิกายน 14, 2013 นิ้ว Uncategorized